โครงการเสริมสร้างสมรรถนะภาคีเครือข่ายเพื่อการวางแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ระดับตำบล ประกอบด้วย
จังหวัดภูเก็ต จำนวน 3 พื้นที่ ได้แก่ ตำบลเชิงทะเล ตำบลกมลา และตำบลรัษฎา
จังหวัดพังงา จำนวน 3 พื้นที่ ได้แก่ ตำบลบางม่วง ตำบลโคกกลอย และตำบลท่านา
จังหวัดกระบี่ จำนวน 3 พื้นที่ ได้แก่ ตำบลคลองพน ตำบลคลองเขม้า และตำบลบ้านกลาง
เกิดขึ้นบนฐานคิดของความพยายามดำเนินการพัฒนาให้ชุมชนสามารถวิเคราะห์แผนตำบล การฝึกวิทยากรแผนตำบล และการสร้างนวัตกรรมชุมชน ภายใต้การส่งเสริมการประกอบอาชีพ สร้างรายได้ที่เพิ่มมากขึ้นให้กับครัวเรือนเป้าหมาย ซึ่งอาจนําไปสู่ชุมชนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งกาย ใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคมอย่างยั่งยืน โดยได้กำหนดเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาให้เป็นไปตามหลักการบูรณาการด้านการเรียนการสอนกับการพัฒนาท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของอาจารย์ นักศึกษา และประชาชนในท้องถิ่นต่อการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมและงานวิจัย ความเชี่ยวชาญในศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสู่การพัฒนาชุมชนท้องถิ่น การส่งเสริมการประกอบอาชีพและยกระดับรายได้ของครัวเรือนให้กับประชาชนในชุมชนท้องถิ่น
โครงการเสริมสร้างสมรรถนะภาคีเครือข่ายเพื่อการวางแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ระดับตำบล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ได้กำหนดวิธีการไว้ ดังนี้ การวิเคราะห์แผนตำบลเพื่อการวางแผน พัฒนาเชิงพื้นที่ การสํารวจปัญหาและความต้องการของชุมชน การฝึกอบรมวิทยากรแผนตำบล จำนวน 135 คน 1 ตำบล / วิทยากร 15 คน เพื่ออบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาความสามารถของบุคคล ในการเป็นวิทยากรชุมชน และการสร้างนวัตกรรมชุมชน จำนวน 27 นวัตกรรม โดยใช้รูปแบบของกำหนดเป้าหมายการพัฒนาร่วมกัน ระหว่างนักศึกษา ประชาชน อาจารย์ และหน่วยงานความร่วมมือในพื้นที่ โดยบูรณาการกับรายวิชาที่เกี่ยวข้อง 7 รายวิชา การจัดการเชิงพื้นที่ดำเนินการและกลุ่มเป้าหมายที่ร่วมกระบวนการพัฒนา วางแผนการดำเนินการพัฒนา เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันทั้งในแง่เครื่องมือ เทคนิควิธีการและกระบวนการพัฒนา รวมถึงการจัดการและวางแผนงบประมาณ การประสานงาน การจัดกระบวนการ การบันทึกและการเขียนรายงาน เป็นการหาข้อตกลงและข้อสรุปร่วมกันในการดำเนินโครงการเพื่อการวางแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ระดับตำบลต่อไป
การบูรณาการกับรายวิชา 7 วิชา
1. รายวิชาภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว
2. รายวิชาการจัดการความขัดแย้งและสันติวิธี
3. รายวิชาปัญหาพิเศษ
4. รายวิชาการจัดอบรมและสัมมนา
5. รายวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
6. รายวิชาปัญหาพิเศษ
7. รายวิชาการสัมมนาในงานพัฒนาชุมชน
-
1. ฝึกวิทยากรและสร้างนักเล่าเรื่องประจำตำบล จำนวน 135 คน
2. สื่อมัลติมีเดีย จำนวน 10 ชิ้น
1. แผนพัฒนาเชิงพื้นที่ ตำบลละ 1 แผน รวมทั้งสิ้น 9 แผน
2. พัฒนาแผนนวัตกรรมตามเอกลักษณ์ชุมชน จำนวน 29 นวัตกรรม