ความสำคัญของแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 มีการกำหนดกรอบการดำเนินงานและนโยบายในการจัดการศึกษาในทุกระดับชั้น โดยแผนการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดมีจุดมุ่งหมายด้านผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ไว้ ดังนี้
1. มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยทักษะและคุณลักษณะ คือ อ่านออก (Reading) เขียนได้ (Writing) คิดเลขเป็น (Arithmetics)
2. ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving)
3. ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation)
4. ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding)
5. ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration Teamwork and Leadership)
6. ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information and Media Literacy)
7. ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy)
8. ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning Skills)
9. ความมีเมตตา กรุณา วินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion)
จากนโยบายการศึกษาของประเทศไทยข้างต้น เมื่อหน่วยงานการศึกษาได้นำลงสู่การปฏิบัติ ยังคงพบปัญหาด้านคุณภาพผู้เรียน จะเห็นได้จากการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2563 พบว่าอยู่ในระดับไม่น่าพึงพอใจ มีคะแนนเฉลี่ยน้อยกว่าร้อยละ 50
สรุปได้ว่าปัญหาด้านการพัฒนาผู้เรียนข้างต้นของการศึกษาไทย ยังต้องขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ที่พัฒนาผู้เรียน ให้คิดเป็นและทำเป็น เพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ต่อนวัตกรรมและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างก้าวกระโดด เพราะอิทธิพลของเทคโนโลยีดิจิทัลกับการดำรงชีวิต ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างฉับพลัน (Disruptive Technology) ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจแล้วยังส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่ต้องเผชิญกับเทคโนโลยีดิจิทัลในชีวิตประจำวันมากมาย ทั้งด้านการเรียนการสอน ในสถานศึกษา การจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ การเดินทาง การใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการ การทำงาน เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน ดังนั้นเยาวชนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้รู้เท่าทัน และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง สังคมและประเทศต่อไป ซึ่งเป็นบทบาทของการศึกษาที่ต้องพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีทักษะและความรู้ในเรื่องดังกล่าวในห้องเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสื่อวิดีทัศน์ จึงเป็นทางออกเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งมีปัญหาขาดครู มีครูไม่ครบขั้น จะได้ประโยชน์จากการใช้สื่อวิดีทัศน์ทำการสอนแทนครูหรือจัดกิจกรรมร่วมกับการสอนของครูได้
ครูสามารถนำไปขยายผลสู่โรงเรียนอื่นได้
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงกว่าเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
1. ได้สื่อวิดีทัศน์ สำหรับการจัดการเรียนการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 เรื่อง เรื่องละ 10 ตอน
2. สื่อวิดีทัศน์ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพระดับสูง