ชุมชนหินลูกเดียว เป็นชุมชนทำการประมงพื้นบ้านเป็นที่อยู่อาศัยชาวเลที่เรียกว่า ชาวมอแกนหรือมอเกล็น มีจำนวนครัวเรือนประมาณ 40 ครัวเรือน มีการรวมกลุ่มในการทำธนาคารปูม้า และแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
เนื่องจากเป็นชุมชนที่ทำการประมงพื้นบ้านจึงมีเศษชิ้นส่วนเหลือทิ้งจากการแปรรูปสัตว์น้ำเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงต้องการนำเศษชิ้นส่วนเหลือทิ้งเหล่านี้มาใช้ให้เป็นประโยชน์มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตจึงได้เข้าไปช่วยเหลือชุมชนหินลูกเดียว ในเรื่องของการผลิตก๊าซชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้จากการทำประมงพื้นบ้าน ทำให้ชุมชนสามารถลดค่าใช้จ่าย ในการซื้อก๊าซหุงต้มลงได้ประมาณเดือนละ 100 - 200 บาทต่อครัวเรือน และได้ติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ให้กับอาคารของกลุ่มธนาคารปูม้าของชุมชน สามารถลดค่าไฟฟ้าได้ประมาณเดือนละ 1,500 บาท
ผลลัพธ์
ชุมชนมีพลังงานทดแทนใช้ในครัวเรือน