การพัฒนาต้นแบบถังหมักเศษอาหารโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์

พัฒนาต้นแบบถังหมักขยะประเภทเศษอาหารโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อทำเป็นปุ๋ยใช้ในการปลูกพืช
เทศบาลเมืองป่าตอง ตําบลป่าตอง

พัฒนาต้นแบบถังหมักขยะประเภทเศษอาหารโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อทำเป็นปุ๋ยใช้ในการปลูกพืช

     ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญสำหรับเมืองท่องเที่ยวอย่างจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงระดับโลก และสร้างรายได้ให้แก่ประเทศเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะหาดป่าตอง การเติบโตและการขยายตัวในด้านการท่องเที่ยวของพื้นที่ป่าตอง ส่งผลกระทบในด้านการจัดการขยะที่ส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อม

     จากการศึกษาความต้องการและผลการดำเนินการจัดการขยะในพื้นที่ป่าตอง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 พบว่า ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักที่ดี และมีความรู้ในการคัดแยกขยะเพิ่มมากขึ้น ผลจากการคัดแยกขยะสามารถนำขยะประเภทเศษอาหาร นำไปใช้เป็นปุ๋ยในการปลูกพืชได้ ดังนั้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต โดยคณะวิทยาการจัดการจึงได้พัฒนาต้นแบบถังหมักเศษอาหารโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ โดยใช้วิธีการหมักแบบใช้อากาศ ซึ่งจะอาศัยจุลินทรีย์ที่ใช้ในการช่วยย่อยวัตถุอินทรีย์ โดยจะต้องมีสภาวะที่เหมาะสมต่อการทำงาน คือ อากาศมีออกซิเจนวัตถุอินทรีย์จะต้องมีอัตราส่วนของไนโตรเจน 1 ส่วนต่อคาร์บอน 30 - 70 ส่วน มีน้ำประมาณร้อยละ 40 - 60 โดยจะมีการปรับปรุงสูตรปุ๋ย เพิ่มค่าในตัวเศษอาหารที่เหลือทิ้งให้กลายเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ พร้อมทั้งได้เพิ่มเติมส่วนประกอบที่จะทำให้ประหยัด และอนุรักษ์พลังงานมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

No items found.