โครงการศาสตร์พระราชาเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน

สร้างจิตอาสาลงพื้นที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในรูปแบบ “การออกปากซอแรงสามัคคี”
18 ตำบล ในพื้นที่ 3 จังหวัดอันดามัน

สร้างจิตอาสาลงพื้นที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในรูปแบบ “การออกปากซอแรงสามัคคี”

18 ตำบล ในพื้นที่ 3 จังหวัดอันดามัน ได้แก่

1) ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่

2) ตำบลเขาคราม อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่

3) ตำบลคลองประสงค์ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่

4) ตำบลเขาเขน อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่

5) ตำบลคลองท่อมใต้ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่

6) ตำบลบางเตย อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา

7) ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา

8) ตำบลบางทอง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา

9) ตำบลทุ่งมะพร้าว อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา

10) ตำบลบางนายสี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

11) ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

12) ตำบลโคกเคียน อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

13) ตำบลบ่อแสน อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา

14) ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

15) ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

16) ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

17) ตำบลวิชิต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

18) ตำบลรัษฎา อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

     โครงการศาสตร์พระราชาเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน มีเป้าหมายสำคัญ คือ การพัฒนาคนให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน มุ่งสร้างคนให้มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงและมีคุณธรรม มีงานทำ มีอาชีพ และเป็นพลเมืองดี

     มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตจึงน้อมนำศาสตร์ของพระราชาในการพัฒนาคนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฝึกอบรมให้คนสามารถคิดเป็น ทำเป็น รู้จักการแบ่งปัน และเห็นถึงความสำคัญของความสามัคคีในชุมชนและหมู่คณะ และสนับสนุนให้เกิดการสร้างเครือข่ายเชิงพื้นที่ (Area - based) และ เครือข่ายเชิงประเด็น (Agenda - based) ผ่านกระบวนการสร้างจิตอาสาลงพื้นที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในรูปแบบ “การออกปากซอแรงสามัคคี” โดยมหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยงบ่มเพาะตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน ให้เกิด 4 พอ คือ พอกิน พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น เมื่อมีความพร้อมในขั้นพื้นฐานก็พัฒนาเป็นขั้นก้าวหน้า คือ บุญ ทาน เก็บรักษา

ทฤษฏีบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง

     ในปีงบประมาณ 2562 มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ได้พัฒนาหลายกลุ่มไปถึงขั้นการขายและสร้างเครือข่าย เป็นตัวอย่างในชุมชนให้เห็นประจักษ์ และเกิดจิตอาสาภาคประชาชนในชุมชนที่ร่วมกันขับเคลื่อนศาสตร์พระราชาเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน โดยไม่ต้องรอพึ่งพาภาครัฐเพียงอย่างเดียว และยังสามารถช่วยถ่ายทอดความรู้เป็นจิตอาสาครูพาทำในการฝึกหัดคนในท้องถิ่น และช่วยฝึกหัดนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยที่มาเรียนรู้ศาสตร์พระราชาในศูนย์กสิกรรมธรรมชาติอันดามัน การรวมกลุ่มในพื้นที่อันดามันตามความสนใจ หรือ Agenda-based ทำให้กลไกการสร้างรายได้อย่างยั่งยืน จากการที่สมาชิกแต่ละชุมชนจะมีความถนัดและมีทรัพยากรแตกต่างกัน เมื่อเกิดการรวมกลุ่มข้ามพื้นที่กันทำให้ การขับเคลื่อนการพัฒนาเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจังหวัดภูเก็ตเหมาะกับการเป็นตลาดในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และจัดจำหน่าย เพราะมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากต้องการอาหารที่ปลอดภัย ปลอดสารพิษ และผลิตภัณฑ์รักษ์โลก ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม แต่ไม่มีแหล่งผลิต แรงงาน และพื้นที่เพาะปลูก ในขณะที่จังหวัดพังงาและกระบี่ เหมาะกับการเป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ

     ผลจากการฝึกอบรมสามารถพัฒนาบุคลากรให้เป็นผู้นำศาสตร์พระราชาไปปฏิบัติให้เกิดผล มีการลดรายจ่ายในครัวเรือนและนำมาถ่ายทอดประสบการณ์ต่อในชุมชนและคนรุ่นใหม่ได้ ในระยะที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จึงได้สนับสนุนให้จัดตั้งศูนย์กสิกรรมธรรมชาติอันดามันเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ศาสตร์พระราชาและจัดพื้นที่ให้สามารถฝึกฝนพัฒนาทักษะผ่านการลงมือปฏิบัติจริง และให้ผู้นำที่ผ่านการฝึกอบรมระยะที่ 1 พัฒนาศักยภาพเป็นจิตอาสา พี่เลี้ยง และครู พาทำจนสามารถให้การฝึกอบรมประชาชนในหลักสูตร “การพัฒนากสิกรรมธรรมชาติสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง” จำนวน63 คนระหว่างวันที่ 25 - 27 มีนาคม 2562

No items found.